ลองเลย!!

LAZADA 5.5

ช้อปสนุกทุกองศา!

5 -7 พฤษภาคม 2567

ลดแรงกว่า 90%* ช้อปเลย »

วิธีการใช้ น้ำส้มควันไม้ ป้องกัน กำจัด โรคแคงเกอร์ มะนาว..

วิธีการใช้ น้ำส้มควันไม้ ป้องกันกำจัด โรคแคงเกอร์ มะนาว อัตราส่วนผสม 150-200ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุกครั้งที่มะนาวแตกใบอ่อน โดยเฉพาะช่วงฝนตกติดต่อกันให้พ่นทุกๆ 5-7 วัน

ในช่วงปลายฝนต้นหนาวของทุกปี เกษตรกรที่ปลูกมะนาว ก็เริ่มกระตุ้นให้มะนาวออกดอกติดผล เพื่อที่จะให้ทันจำหน่าย ในเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม ซึ่งจะได้ราคาแพง เพราะเป็นมะนาวนอกฤดู แต่สิ่งที่จะต้องระวังก็คือ โรคและแมลงศัตรูตัวร้ายของมะนาว เช่น โรคแคงเกอร์ และ หนอนชอนใบ มะนาว

การใช้ น้ำส้มควันไม้ ป้องกัน กำจัด โรคแคงเกอร์ มะนาว

การป้องกันกำจัดโรคแคงเกอร์ ด้วย น้ำส้มควันไม้

ให้ฉีดพ่นน้ำส้มควันไม้ที่ตกตะกอนแล้ว อัตราส่วนผสม 150-200ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ทุกครั้งที่มะนาวแตกใบอ่อน โดยเฉพาะช่วงฝนตกติดต่อกันให้พ่นทุกๆ 5-7วัน ในน้ำส้มควันไม่มีสารฟีนอล สามารถสามารถป้องกันกำจัดโรคที่เกิดจากเชื้อราและแบคทีเรียได้ผลดี และไม่เป็นอันตรายต่อเกษตรกรและสิ่งแวดล้อม

หรือจะฉีดพ่นสารประกอบทองแดงเช่นคอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ หรือคอปเปอร์ไฮดรอกไซด์เป็นผงสีน้ำเงิน อัตรา50-70กรัมต่อน้ำ20ลิตร ทุกครั้งที่มะนาวแตกใบอ่อน หรือฝนตกชุกทุกๆ7-10วัน/ครั้งและควรผสมสารจับใบ จะช่วยป้องกันการฉะล้างในฤดูฝนได้ดี

โรคแคงเกอร์ มะนาว

โรคแคงเกอร์ มะนาว นี้ มีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรีย สามารถเข้าทำลายได้ทั้งใบอ่อน กิ่ง และผลมะนาว ทำให้เกิดเป็นแผลตกสะเก็ดนูนสีน้ำตาลอ่อนถึงแก่ ทั้งใบ กิ่งและผล แผลจะขยายใหญ่ขึ้นเรื่อยๆเห็นเป็นวงซ้อนๆกัน ต่อมาจะเหลืองแห้งและหลุดล่วงไป

อาการที่พบ เชื้อแบคทีเรียเข้าทำลายใบอ่อน กิ่งอ่อน ผลอ่อน ในช่วงที่ฝนตกติดต่อกันและอากาศชื้น อาการจะลุกลามติดกับใบอ่อนที่เกิดบาดแผลจากหนอนชอนใบเข้าทำลาย

อาการเริ่มแรกที่พบเห็น เป็นจุดฉ่ำน้ำใสๆ เท่าหัวไม้ขีดไฟ และจะเริ่มขยายใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ตรงกลางแผลจะตกสะเก็ดนูนขึ้น สีน้ำตาลอ่อน ส่วนอาการที่เกิดตามกิ่งอ่อนและผลจะพบแผลตกสะเก็ดนูนขึ้นสีน้ำตาลเช่นเดียวกัน แผลที่กิ่งและผลอาจจะแตกเป็นแผลทำให้เกิดยางไหล ลุกลามไปยังใบทำให้ใบหลุดร่วงและกิ่งแห้งตายไปในที่สุด

โรคแคงเกอร์ เป็นโรคประจำตัวของพืชตระกูลส้ม บางสายพันธุ์ทนทานต่อโรคนี้ บางสายพันธุ์ก็อ่อนแอต่อโรคนี้ แต่มักจะพบในมะนาวทุกสายพันธุ์ โรคนี้ระบาดและแพร่กระจายมากในฤดูฝนอากาศชื้น หรือช่วงที่มะนาวแตกใบอ่อน เกษตรกรควรหมั่นตรวจดูแปลงปลูกมะนาวอย่างสม่ำเสมอ ถ้าพบเห็นโรคที่เกิดควรเก็บใบ กิ่ง และผล ที่เกิดอาการโรคแคงเกอร์ไปเผาทำลาย สามารถลดการระบาดของโรคนี้ได้อย่างมากทีเดียว

โดยอาจารย์พิชัย สมบูรณ์วงศ์ นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ ฝ่ายนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่

รายละเอียดเพิ่มเติม