ลองเลย!!

LAZADA 5.5

ช้อปสนุกทุกองศา!

5 -7 พฤษภาคม 2567

ลดแรงกว่า 90%* ช้อปเลย »

การใช้ประโยชน์ จากน้ำส้มควันไม้ ในการเกษตร?

การใช้ประโยชน์จากน้ำส้มควันไม้ ในการเกษตร ใช้ร่วมกับสารเคมีกำจัดแมลง, ใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมี, ใช้ผสมน้ำฉีดพ่นไล่แมลงศัตรูพืชเร่งการติดดอก การเจริญเติบโต และเพิ่มความหวาน, ใช้ย่อยสลายปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก

การใช้ประโยชน์ จากน้ำส้มควันไม้ ในการเกษตร

การใช้ประโยชน์ จากน้ำส้มควันไม้

การใช้ประโยชน์ จากน้ำส้มควันไม้ ในการเกษตร มีประโยชน์มากมาย ดังต่อไปนี้

  • ในการใช้น้ำควันไม้ร่วมกับสารเคมีกำจัดแมลง จะสามารถลดปริมาณการใช้สารเคมีให้น้อยลงถึง ครึ่งหนึ่ง จากที่เคยใช้อยู่เดิมน้ำควันไม้ เมื่อใช้ร่วมกับสารเคมี จะส่งเสริมคุณสมบัติความสามารถให้กัน ซึ่งน้ำควันไม้สามารถป้องกันและไล่แมลงศัตรูพืชได้
  • เมื่อใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมีจะสามารถมีบทบาททำงานร่วมกันกับปุ๋ยเคมี ช่วยให้ปุ๋ยเคมี มีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • ผสมน้ำน้ำส้มควันไม้กับน้ำให้เจือจาง 1 ต่อ 500 – 1,000(น้ำควันไม้ 10 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร) ฉีดพ่นหรือรดไม้ผล จะช่วยไล่แมลงศัตรูพืชเร่งการติดดอก การเจริญเติบโต และเพิ่มความหวาน
  • ช่วยย่อยสลายปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก
  • ถ่านที่ใช้แช่ในน้ำน้ำควันไม้จะเป็นตัวปรับปรุงดินอย่างดีโดยการเพิ่มจำนวนแบคทีเรียในดิน ที่มีประโยชน์ต่อต้นพืช เบสจากถ่านมีรูพรุนจำนวนมาก และมีแร่ธาตุ สารอาหารอยู่ด้วย ทำให้เหมาะ จะเป็นที่อยู่อาศัยของจุลินทรีย์ในดินที่เป็นประโยชน์ต่อต้นพืช
  • การใช้น้ำส้มควันไม้กับต้นพืช ควรใช้เวลาเช้าหรือเย็นจะเกิดประโยชน์ต่อพืชมาก

ประโยชน์ในการเกษตร ของน้ำส้มควันไม้

ใช้ได้กับพืช ป้องกันกำจักศัตรูพืช / ช่วยติดดอกผลดก ช่วยเพิ่มผลผลิต ผลโตสีสดใส รสหวาน ลดโรคพืช เชื้อรา แผลเน่า ดินจะมีสุขภาพดีขึ้น ฟื้นฟูดินเสื่อม ใช้ร่วมกับสารเคมีได้ เช่น ยาคุมฆ่าหญ้า ฮอร์โมน ยาฆ่าแมลง ฯลฯ สามารถลดปริมาณการใช้สารเคมีลงครึ่งหนึ่ง ใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมีช่วยให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ฉีดระยะต้นเล็กและก่อนเก็บเกี่ยว ช่วยให้คุณภาพและรสชาติดีขึ้น รวมทั้งชะลอการเหี่ยวเฉา

หมายเหตุ ในการใช้น้ำส้มควันไม้ ให้ได้ผล

  • ควรฉีดพ่นตอนเช้าหรือเย็น จะมีประสิทธิภาพสูงสุด
  • ควรฉีดพ่นบริเวณโคนต้นและดินที่ปลูก
  • ใช้ 1 ช้อนโต๊ะ ประมาณ 10 ซีซี (1 ปี๊บ = น้ำ 20 ลิตร)
  • เดือนหนึ่งไม่ควรฉีดเกิน 2 - 3 ครั้ง
  • อย่าผสมและฉีดเกินอัตราที่กำหนด พืชจะเป็นอันตรายได้

ที่มา: หนังสือนิตยสารเทคโนโลยีเกษตรแนวใหม่, ปีที่ 3 ฉบับที่ 35 เดือนกรกฎาคม 2546,หน้า 49-59

รายละเอียดเพิ่มเติม