ลองเลย!!

LAZADA 5.5

ช้อปสนุกทุกองศา!

5 -7 พฤษภาคม 2567

ลดแรงกว่า 90%* ช้อปเลย »

วิธีการใช้ น้ำส้มควันไม้ ร่วมกับ ยา/ปุ๋ยเคมีเกษตร..

วิธีการใช้ น้ำส้มควันไม้ ร่วมกับ ยา/ปุ๋ยเคมีเกษตร โดยใช้ผสมน้ำส้มควันไม้เจือจางแล้ว 500 – 1000 เท่า จะทำให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น และสามารถลดปริมาณการใช้ รวมถึงไม่จำเป็นต้องใช้ตัวช่วยที่ทำให้สารเคมีติดอยู่กับพืช

ยาเคมีเกษตรละลายได้ดี และทำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นในของเหลวที่มีค่า pH ประมาณ 4 – 5 ดังนั้นผสมน้ำส้มควันไม้ซึ่งเจือจางแล้ว 500 – 1000 เท่า จะทำให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น และสามารถลดปริมาณการใช้ รวมถึงไม่จำเป็นต้องใช้ตัวช่วยที่ทำให้สารเคมีติดอยู่กับพืช เนื่องจากน้ำมันทาร์ในน้ำส้มควันไม้ได้ทำหน้าที่นี้แล้ว แต่น้ำส้มควันไม้ไม่สามารถใช้ร่วมกับสารที่เป็นด่างใช้ในการบำรุงดิน

วิธีการใช้ น้ำส้มควันไม้ ร่วมกับ ยา/ปุ๋ยเคมีเกษตร

ผลดีที่จะได้กับดินมีดังนี้

  • ความเสียหายที่เกิดจากแมลงและโรคในดินลดลง
  • น้ำส้มควันไม้เพิ่มประสิทธิภาพให้ปุ๋ย โดยทำให้ง่ายต่อการดูดซึมของพืช
  • น้ำส้มควันไม้ลดความเสียหายอันเกิดจากความเค็ม

ควรจะใช้ร่วมกับอย่างอื่น เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์ ในการปรับคุณภาพของดินในระยะยาว โดยเฉพาะดินซึ่งเสื่อมคุณภาพ อันเกิดจากการเก็บเกี่ยวไม่ดี และการใช้สารเคมีเกินควร น้ำส้มควันไม้ที่ใช้ใส่ในดินควรมีความเข้มข้นสูงกว้าที่แดบนใบพืช น้ำส้มควันไม้ซึ่งมีความเข้มข้น 30 ต่อ 1 ถูกใช้ในปริมาณ 6 ลิตรต่อ 1 ตารางเมตร โดยทั่วไปในการฆ่าเชื้อในดินปรือขจัดไส้เดือนฝอย ความเข้มข้นที่สูงกว่านี้สามารถนำไปใช้ได้โดยปกติ การฆ่าเชื้อในดินควรใช้น้ำส้มควันไม้ซึ่งมีค่า pH 3 และมีความด่างจำเพาะ 1.014 และเจือจาง 8 เท่าตัว โดยใช้ปริมาณ 1 ลิตรต่อ 1 ตารางเมตร อย่างไรก็ดี ไส้เดือนฝอย มีความต้านทานสูง ต้องใช้เวลา 3 – 4 ปีเพื่อขจัดให้หมดสิ้น

สำหรับดินปลูกผัก ให้ใช้น้ำส้มควันไม้ ความเข้มข้น 30 ต่อ 1 ก่อนปลูกโดยใช้ 6 ลิตรต่อ 1 ตารางเมตร ควรจะให้น้ำส้มควันไม้ซึมลงในดินประมาณ 50 ซม. โดยจะทำก่อนหรือหลังการไถดินก็ได้ ควรใช้ปุ๋ยหมักก่อนใส่น้ำส้มควันไม้ เนื่องจาก หากใช้น้ำส้มควันไม้ก่อนอาจจะฆ่าจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ ดังนั้นควรใส่ปุ๋ยหมักก่อน และสุดท้ายพรวนลงไปร่วมกัน ควรใช้ปุ๋ยหมักและน้ำส้มควันไม้ช่วยพัฒนาคุณภาพดินในระยะยาวสำหรับไม้ผลและพืชที่ปลูกในกระถาง

กรณีไม้ผล ให้รดสิบจุดรอบต้นไม้ในบริเวณที่โดนฝน และมีรากเล็ก ควรเจือจางน้ำส้มควันไม้ 30 – 50 เท่า และใช้ 500 ลิตรต่อ 1000 ตารางเมตร

กรณีไม้กระถาง ผสมน้ำส้มควันไม้กับดินและทิ้งไว้ 10 – 15 วัน เพื่อระบายก๊าซออกก่อนใส่ในกระถางใช้ในการหมักปุ๋ยช่วยเร่งขบวนการหมักโดยเฉพาะมูลสุกรและมูลไก่ การหมักจะเร็วขึ้นถ้าอุณหภูมิสูงขึ้น อุณหภูมิของปุ๋ยที่หมักมา 4 วัน จะสูงถึง 80 องศาเซลเซียส ถ้าใช้น้ำส้มควันไม้ช่วย ควรใช้น้ำส้มควันไม้ที่เจือจาง 100 เท่า รดลงบนปุ๋ย แต่ควรระวังไม่ควรใช้น้ำส้มควันไม้ซึ่งเข้มข้นกว่านี้ เนื่องจากจะไปฆ่าเชื้อ เมื่อรากพืชเป็นโรค ให้ใช้น้ำส้มควันไม้เจือจาง 100 – 200 เท่า รดที่โคนต้น ให้ชุ่มจนลึก 50 ซม. สำหรับมะเขือเทศและแตงกวา ให้ใช้ 1 – 2 ลิตรต่อต้น เพื่อเพิ่มความสดชื้นแข็งแรงและพัฒนาการของรากน้ำส้มควันไม้เป็นตัวลดกลิ่นหรือเป็นอาหารเสริม

การลดกลิ่นมูลสัตว์ ให้รดมูลสัตว์หรือพื้นคอกเลี้ยงสัตว์ด้วยน้ำส้มควันไม้เจือจาง 50 เท่า บ่อยครั้งเท่าที่จะทำได้ น้ำส้มควันไม้สามารถเป็นอาหารเสริมสำหรับสัตว์ โดยช่วยปรับระดับแบคทีเรียในลำไส้และอำนวยการดูดซึมสารอาหาร ทำให้เนื้อไก่มีสีชมพู และลดปริมาณน้ำในเนื้อไก่เหลือประมาณร้อยละ 3 ซึ่งเป็นการเพิ่มคุณภาพไก่โดยรวมเพาะน้ำส้มควันไม้ซึ่งได้ผ่านการกลั่นอย่างดีแล้วเท่านั้น จึงสามารถจะใช้กับสัตว์ได้ การผสมในอาหาร ให้ราดจนชุ่มบนรำข้าว ซึ่งขจัดไขมัน หลังจากนั้นผสมในอาหารสัตว์ในอัตราส่วน 99 ต่อ 1 ส่วนผสมนี้เหมาะสำหรับสัตว์ใหญ่

ปัจจุบันมีผู้ผลิตน้ำส้มควันไม้ออกมาจำหน่ายมากมาย ซึ่งผู้ผลิตแต่ละรายก็มีเทคโนโลยีการผลิตที่แตกต่างกันไป ทำให้คุณภาพของน้ำส้มควันไม้ไม่มีมาตรฐานที่ชัดเจน ดังนั้นก่อนซื้อหรือนำมาใช้ ควรศึกษาให้แน่ใจว่าน้ำส้มควันไม้ที่ได้มานั้น ผลิตจากโรงงานหรือบริษัทที่ได้มาตรฐานและมีแหล่งผลิตที่ชัดเจน มีคุณภาพมาตรฐาน พร้อมข้อบ่งใช้ หรือวิธีการใช้ที่ผ่านการทดสอบแล้วเท่านั้น เนื่องจากน้ำส้มควันไม้มีทั้งคุณและโทษ หารใช้ไม่ถูกต้องอาจส่งผลเสียต่อผลผลิตได้เนื่องจากน้ำส้มควันไม้เป็นสารอินทรีย์ จึงควรใช้ติดต่อกันประมาณ 1 เดือนจึงจะเห็นผล

น้ำส้มควันไม้ ควันที่เกิดจากการเผาถ่านในช่วงที่ไม้กำลังเปลี่ยนเป็นถ่านเมื่อทำให้เย็นลงจนควบแน่นแล้วกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ ของเหลวที่ได้นี้เรียกว่า น้ำส้มควันไม้ มีกลิ่นไหม้ ส่วนประกอบส่วนใหญ่เป็นกรดอะซิติกมีความเป็นกรดต่ำ มีสีน้ำตาลแกมแดง นำน้ำส้มควันไม้ที่ได้ทิ้งไว้ในภาชนะพลาสติกประมาณ 3 เดือนในที่ร่ม ไม่สั่นสะเทือนเพื่อให้น้ำส้มควันไม้ที่ได้ตกตะกอนและแยกตัวเป็น 3 ชั้น คือ น้ำมันเบา (ลอยอยู่ผิวน้ำ)น้ำส้มควันไม้ และน้ำมันทาร์ (ตกตะกอนอยู่ด้านล่าง) แยกน้ำส้มควันไม้มาใช้ประโยชน์ต่อไป

ที่มา สำนักงานเกษตรอำเภอโพธาราม กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

รายละเอียดเพิ่มเติม