ลองเลย!!

LAZADA 5.5

ช้อปสนุกทุกองศา!

5 -7 พฤษภาคม 2567

ลดแรงกว่า 90%* ช้อปเลย »

ความเป็นพิษของน้ำส้มควันไม้ ต่อพืชและสัตว์น้ำ..

น้ำส้มควันไม้ มีสรรพคุณ ที่เป็นประโยชน์มากมาย แต่ความเป็นกรดของน้ำส้มควันไม้ ก็ยังมีความเป็นพิษต่อพืชและสัตว์น้ำ หากใช้ใน อัตราส่วนผสม ความเข้มข้น ในปริมาณที่เข้มข้นมากเกินไป

เพื่อนๆพี่น้องที่เป็นมือใหม่ หัดใช้ "น้ำส้มควันไม้" อาจเจอปัญหาที่ว่า เมื่อฉีดน้ำส้มควันไม้ไปแล้ว ไบไหม้ หรืออาจเหี่ยว จนถึงตายได้ เนื่องจาก ส่วนผสมไม่ถูกต้อง ใช้อัตราส่วนผสมน้ำส้มควันไม้ต่อน้ำ ที่เข้มข้นมากเกินไป

ความเป็นพิษของน้ำส้มควันไม้ ต่อพืชและสัตว์น้ำ

วิทยาและสมปอง(2545) ได้ทำการศึกษาความเป็นพิษของน้ำส้มควันไม้ ต่อสัตว์น้ำ (acute toxicity) และ ความเป็นพิษต่อพืช (phytotoxicity) โดยค้นพบว่า น้ำส้มควันไม้ มีความเป็นพิษต่อ ลูกปลานิล (Tilapia nilotica L.) อายุ 3-4 เดือน ภายหลังปลาได้รับน้ำส้มควันไม้ นาน 72 ชั่วโมง โดยค่า LC50 ด้วยความเข้มข้น 963.15 ppm. และค่า LC95 ด้วยความเข้มข้น 1,536.83 ppm.

สำหรับ ความเป็นพิษของน้ำส้มควันไม้ต่อพืช พบว่า หากใช้น้ำส้มควันไม้ ความเข้มข้น 1:800 จะมีผลทำให้ ต้นผักกาดขาวปลี ตายมากกว่า 40% ส่วนต้นกล้าผักกาดขาว คะน้า และฟักทอง จะมีอาการชะงักการเจริญเติบโต แคระแกรน และใบมีสีเหลืองซีด

พุฒินันท์(2544) รายงานว่า การผสมน้ำส้มควันไม้ ที่มีความเข้มข้นมากกว่า 1:200 มีผลทำให้พืช ใบไหม้ ซึ่ง Anonymous(1994) ให้เหตุผลว่า การที่พืช ใบไหม้ นั้น เกิดจาก ความเป็นกรดจัดของน้ำส้มควันไม้ ที่ไปเร่งกระบวนการต่างๆในพืช ทำให้พืชดูดซึมอาหารมากขึ้น พืชเจริญเติบโตเร็วกว่าปกติ ซึ่งส่งผลให้ผนังเซลล์บาง ทนต่อแสงแดดได้น้อยลง ใบพืชเกิดอาการใบไหม้ เนื่องจากแสงแดด ได้ครับ

ฉะนั้น ในการใช้งาน น้ำส้มควันไม้ กับพืชแต่ละชนิด จึงควรใช้งาน ในอัตราส่วนผสม ที่ถูกต้องเหมาะสม ตามคำแนะนำจากผู้ผลิต เนื่องจาก หากใช้น้ำส้มควันไม้เจือจางน้อยเกินไป อาจจะใช้งานไม่ได้ผล แต่ถ้าหากใช้ในอัตราส่วนผสมน้ำส้มควันไม้ ที่เข้มข้นมากเกินไป ก็อาจจะเป็นโทษได้ เช่นกันครับ

ที่มา งานวิจัยเรื่อง ประสิทธิภาพในการเป็นสารไล่ของน้ำส้มควันไม้ต่อแมลงสาบอเมริกัน โดย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

รายละเอียดเพิ่มเติม